โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจึงมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดกระนั้นฤา
แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน
เสียง บทกวีที่ดัดแปลงมาจากต้นฉบับเดิมของมนูญ มโนรมย์ (นเรศ นโรปกรณ์) ที่แต่งไว้ตั้งแต่ปี 2495 ที่ดังกระหึ่มในยุค 14 ตุลาฯกลับมาก้องกังวานในความทรงจำของผม ในขณะที่สถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างมากมาย ชนิดที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของความเป็นรัฐไทย
การ ลุกขึ้นต่อสู้ของประชาชนและนักศึกษาในอดีตหลายๆครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการคัดค้านผลการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตในสมัยจอมพล ป. ในสมัย 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 19 และล่าสุด พฤษภา 35 แต่ยังไม่เคยปรากฏว่ามีการหยิบยกประเด็นของการ "ขายชาติ" ขึ้นมาขับไล่ผู้นำประเทศแต่อย่างใด ปรากฏแต่เพียงประเด็นของการทุจริตหรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย อำนาจของรัฐบาลเผด็จการเท่านั้น
ใน หลายๆ ครั้งของการลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลหรือการเดินขบวนขับไล่ผู้นำประเทศล้วน แล้วแต่มาจากการนำของนิสิตนักศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นชนชั้นปัญญาชนอยู่ในเขต รั้วมหาวิทยาลัยซึ่งมีเสรีภาพในการแสดงออกมากที่สุดของสังคม แต่ในยุค 2549 นี้ผู้ที่จุดชนวนกลับกลายเป็นนักธุรกิจที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับหัวหน้ารัฐบาล แล้วจึงติดตามมาด้วยคณะอาจารย์ตลอดจนกลุ่มพันธมิตรทั้งหลาย
ใน ส่วนของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) นั้น ตอนแรกยังรอดูท่าที ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่ที่เหลือนั้นเล่า ยังคงไม่ตื่นจากการหลับใหล หรือยังจมปลักกับความฟุ้งเฟ้อในสังคมทุนนิยมสุดขั้วตามคลับตามบาร์หรือตาม ห้างสรรพสินค้าฯลฯ กันอย่างโงหัวไม่ขึ้น
จุด มุ่งหมายของการนำเสนอบทความชิ้นนี้มิได้ปราถนาเพียงที่จะโน้มน้าวให้ลุกขึ้น มาต่อต้านความไม่ชอบมาพากลของชนชั้นผู้ปกครองถ่ายเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่ที่จะปลุกจิตสำนึกของนิสิตนักศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วม ทางการเมือง ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใดทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลและเหตุผลที่นำมาวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจทางการ เมืองของตน เพราะภายใต้อาณาจักรของรัฐ ประชาชนทุกคนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองไม่ว่าทาง ตรงหรือทางอ้อม
ตื่น เถิดนิสิตนักศึกษา ตื่นจากความเข้าใจที่ว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง 4 วินาทีนับจากการกาบัตรแล้วนำไปหย่อนตู้เท่านั้น เพราะจริงๆแล้วประชาธิปไตยมีได้ในหลายรูปแบบและวิธีการ การเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย รัฐสภาก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่ที่เหลือไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง การตรวจสอบและถอดถอนนักการเมือง การเสนอความคิดเห็นทางการเมือง และแม้แต่การชุมนุมโดยสงบเพื่อเรียกร้องทางการเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของ ประชาธิปไตยเช่นกัน
จริง อยู่ประชาธิปไตยคือการปกครองโดยใช้เสียงส่วนมาก แต่หลักของประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องไม่ละเลยหรือละเมิดสิทธิของเสียงส่วน น้อยเช่นกัน
ตื่น เถิดนิสิตนักศึกษา ตื่นจากความคิดที่ว่านิสิตนักศึกษามีหน้าที่เรียนก็เรียนไป จบแล้วค่อยไปทำกิจกรรม ซึ่งก็ขอบอกว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมากว่าครึ่งศตวรรษของผมยังไม่เคยพบเจอ นิสิตนักศึกษาคนใดที่เอาแต่เรียนอย่างเดียวโดยไม่มีกิจกรรมอื่นเลยแล้วประสบ ความสำเร็จในชีวิตหรือในหน้าที่การงานเลย แม้แต่การประกอบอาชีพเป็นครูบาอาจารย์หรือนักวิชาการเองก็ตามเถิด
ถ้า นิสิตนักศึกษายังหลงติดอยู่กับความไร้สาระของชีวิต อยู่ไปวันๆโดยไม่ทำกิจการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว นิสิตนักศึกษาก็จะไม่ได้อะไรเลยจากชีวิตในมหาวิทยาลัยดังเช่นที่วิทยากร เชียงกูล เคยว่าไว้ตั้งแต่ปี 2511 คือ
ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึงมาหาความหมาย
ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย
สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
...................................
ชำนาญ จันทร์เรือง : นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จาก www.prachatai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น