วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาสัมพันธ์ค่าย "ห้องสมุดที่ปลายฝัน จุดประกายทางปัญญา สู่สันติภาพที่ยั่งยืน"


ชื่อโครงการ                            ห้องสมุดที่ปลายฝัน จุดประกายทางปัญญา สู่สันติภาพที่ยั่งยืน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ          สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (MUSTFETH)
หลักการและเหตุผล
            ความพยายามในการเสนอแนวทางนำพาสันติสุขกลับมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ได้มีดำเนินการมาหลายวิธีการแล้วด้วยกัน โดยที่แต่ละวิธีการนั้นก็มุ่งไปที่การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายความพยายามที่เมื่อดำเนินการไปแล้วกลับเป็นแค่การลงทุนในระยะสั้น และไม่สามารถเข้าไปถึงกลุ่มชาวบ้านในระดับรากหญ้าได้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากความพยายามของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนจริงๆได้ หรืออาจไม่ได้คิดถึงงานนั้นในฐานะที่ตนเองเป็นส่วนหนึ่ง และจะเป็นผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำนั้นในระยะยาวด้วย
                จากสภาพการณ์ดังกล่าวบวกกับในความเป็นจริงแล้วสภาพและผลของความศูนย์เสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฯ ยังคงระอุอยู่ เนื่องจากไม่มีการแก้ไข และเยียวยาที่ดี เพราะไม่มีผู้ใดที่จะสามารถสะท้อนปัญหาที่แท้จริงได้ เนื่องจากในปัจจุบันกลุ่มที่สามารถเข้าหาประชาชนได้ดี และใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ฯที่สุดก็มีแค่นักศึกษา ที่ยังคงได้รับความเชื่อมั่นในความจริงใจจากชาวบ้านในพื้นที่เอง ดังนั้นกลุ่มนักศึกษานำโดยสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท, MUSTFETH) จึงจัด โครงการห้องสมุดที่ปลายฝัน จุดประกายทางปัญญา สู่สันติภาพที่ยั่งยืน” โดยการนำนักศึกษาผู้ที่สนใจการทำงานรับใช้ประชาชนมาเรียนรู้สภาพความเป็นจริงของปัญหา และผลกระทบที่มีต่อประชาชนโดยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ฯ เพื่อนักศึกษาจะได้รับรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถทำหน้าที่ในการทำกิจกรรม และยืน/เดินเคียงข้างประชาชนต่อไป
                นอกจากนี้นักศึกษาเองก็ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุน เพื่อการนำพาสันติสุขกลับมาในพื้นที่ด้วยวิธีที่ยั่งยืน และสามารถส่งผลในระยะยาวได้ ในโครงการนี้จึงมีการจัดกิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่ยุวชนในพื้นที่  โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้ การคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อชุมชนบ้านเกิด และแนวคิดการใช้ศาสนาในการดำเนินชีวิตของยุวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเสริมสร้างแนวคิดเป็นการจุดประกายความสำคัญของปัจจัยทางปัญญาในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งและสันติสุขให้กับยุวชน
                รวมถึงในโครงการนี้ยังมีการจัดสร้างห้องสมุดชุมชน สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ระยะยาวทางวิชาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเอง เพื่อให้ชุมชนมีแนวคิดในการพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเป็นการสร้างเครื่องหมายด้วยสถานที่ที่จะส่งเสริมให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงความสำคัญของการนำพาสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่ โดยการส่งเสริมการมีองค์ความรู้ขึ้นมาในชุมชน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดสร้างห้องสมุด สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการจากองค์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสิมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างแนวคิดการประยุกต์ใช้ศาสนาในใช้ในชีวิตประจำวันแก่ยุวชน
3.เพื่อจัดกิจกรรมเยี่ยมเยียนให้กำลังใจชาวบ้านในพื้นที่ฯ เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้บริการประชาชน
4.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้นิสิตนักศึกษา และยุวชนฯในการช่วยเหลือและรับผิดชอบต่อสังคม


เป้าหมาย
            เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการจากองค์ความรู้ในท้องถิ่น และเป็นสถานที่ส่งเสริมให้เกิดการตระหนักต่อ                                     .   ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้ของชุมชน
                2.เพื่อเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ฯ
                3.ยุวชนฯในพื้นที่เห็นความสำคัญและสามารถประยุกต์ใช้ศาสนาในการดำเนินชีวิต
                4.ชาวบ้านในพื้นที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากการเยียวยาทางจิตใจและให้บริการโดยนักศึกษาที่สนใจเรียนรู้และบริการสังคม
                5. เพื่อสร้างความรู้สึกผูกพันกับการใช้ชีวิตในชุมชนและความรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์สังคมที่ดีด้วย
                เป้าหมายเชิงปริมาณ
                1.ยุวชนในพื้นที่ฯ อายุระหว่าง 7-12 ปี              100          คน
2.นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการจากสถาบันต่างๆทั่วประเทศ สถาบันละ 2-3 คน
   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                                                                                                                 
  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ                                                                                       
   มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม                                                                                                       
   มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต                                                                                                          
   มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี                                                                                                     
   มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต                                                                                                                 
   มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี                                                                                                                              
   มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตย์                                                                                                                
   มหาวิทยาลัยรามคำแหง                                                                                                                    
   มหาวิทยาลัยรังสิต                                                                                                                             
   วิทยาลัยราชพฤกษ์                                                                                                                            
   วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ                                                                                                                     
   มหาวิทยาลัยธนบุรี                                                                                                                            
   มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์                                                                                                                              
   มหาวิทยเอเชียอาคเนย์                                                                                                                      
   มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย                                                                                                                              
   มหาวิทยาลัยมหิดล                                                                                                                           
   มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                                                                                                                              
   มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
   สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา
   มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
   มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
   มหาวิทยาลัยทักษิณ
   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
   มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
   มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
   วิทยาลัยเทคนิคยะลา
   มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
   วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
 
                                        รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน    170          คน

รูปแบบโครงการ
กิจกรรมที่ 1 : สร้างห้องสมุดเพื่อน้อง
รายละเอียดกิจกรรม
1.1 จัดสร้างห้องสมุดฯ
กิจกรรมที่ 2 : อบรมคุณธรรม จริยธรรม
รายละเอียดกิจกรรม
2.1 ด้านวิชาการ และความคิดสร้างสรรค์
      -หลักการศาสนากับความจำเป็นและลักษณะการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (ศาสนาประยุกต์)
      -วิทยาศาตร์อิสลาม และการประดิษฐ์อย่างง่ายจากวัตถุดิบในชุมชน
      -โทษภัยจากอบายมุข และสิ่งเสพติดให้โทษ
2.2 ชุมชนกับการพัฒนา
      -แหล่งทรัพยากรในชุมชน
      -สิทธิ หน้าที่ต่อการพัฒนาชุมชน
      -การออกแบบชุมชนในฝันของตนเอง
2.3 ด้านกีฬา และนันทนาการ
     -กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และกลุ่มย่อย (ฝึกฝนการทำงานร่วมกับผู้อื่น การฝึกเป็นผู้ตามและผู้ตามที่ดี)
     -กิจกรรมกีฬาพื้นบ้านสัมพันธ์
     -การแสดง สะท้อนสังคมจากกลุ่มยุวชน
กิจกรรมที่ 3 : กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม
3.1 เยี่ยมเยียน และศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้าน
      -ศึกษาปัญหา และให้กำลังใจกับครอบครัวผู้สูญเสียในพื้นที่
      -ลงพื้นที่ประกอบอาชีพกับประชาชน เช่น ทำสวน กรีดยาง ฯลฯ
3.2 เสวนาโต๊ะน้ำชา เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากปราชญ์ชาวบ้าน
3.3 ตรวจสุขภาพชาวบ้าน
     -ให้บริการด้านสุขภาพ โดยนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ที่
กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินงาน
ผู้รับผิดชอบ
1.
ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
04/09/2553
กรรมการ สนมท.
2.
เขียนโครงการ
18/09/2553
กรรมการโครงการฯ
3.
ลงพื้นที่สำรวจ
26-28/09/2553
กรรมการโครงการฯ
4.
เตรียมงานโครงการ
18/09/2553 – 19/10/2553
กรรมการโครงการฯ
5.
ดำเนินการตามแผน
20-30/10/2553
กรรมการดำเนินงานฯ
6.
ประเมินผล และประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
06/11/2553
กรรมการ สนมท.

วัน เวลาและสถานที่ดำเนินโครงการ
                วันพุธ ที่ 20 ถึง วันเสาร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (10 วัน)
บ้านเงาะกาโป ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา   

งบประมาณ
งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมค่ายอบรม
รายการ
ราคาต่อหน่วย
เป็นเงิน
หมวดที่ 1 : ค่าเดินทาง/ค่าพาหนะ(เชื้อเพลิง)
§        ค่าโดยสารรถไฟ กรุงเทพฯยะลา

170 x 275 บาท

    46,750 บาท
หมวดที่ 2 : ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
§        ค่าอาหารหลัก/เครื่องดื่ม/อาหารว่าง

170 คน x (500 x1) บาท
 
    137,700 บาท
หมวดที่ 3 : ค่าเอกสาร/จัดพิมพ์
§        เอกสารประกอบโครงการ

170 ชุด x 30 บาท

     8,500 บาท
หมวดที่ 4 : ค่าจัดเตรียมงาน และประสานงาน
§        ค่าติดต่อประสานงาน

3,500 บาท

   3,500 บาท
หมวดที่ 5 : ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมโครงการฯ
§     ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรมภาคสนาม
(เฉลี่ยเหมาจ่าย)
                      


    5,000 บาท
                      


     5,000 บาท
หมวดที่ 6 : ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน/กีฬา
§        อุปกรณ์เครื่องเขียน

1,500 บาท

    1,500 บาท
§        ฟุตบอล (4 ลูก ลูกละ 300 บาท)
4  x 300 บาท
    1,200 บาท
§        วอลเลย์บอล (4 ลูกๆ ละ 250 บาท.)
          4 x 250 บาท
    1,000 บาท
§        แชร์บอล (4 ลูกๆ ละ 400 บาท.)
4 x 400 บาท
    1,600 บาท
§        เซปักตะกร้อ (4 ลูกๆ ละ 200 บาท.)
4  x 200 บาท
    800 บาท
§        ตาข่ายวอลเลย์บอล (1 ชุดๆ ละ 585 บาท.)
1 x 585 บาท
     585 บาท
§        ตาข่ายเซปักตะกร้อ (1 ชุดๆ ละ 535 บาท.)
1 x 535 บาท
    535 บาท
§        ตะกร้าแชร์บอลพลาสติก (1 ชุดๆ ละ 300 บาท.)
1 x 300 บาท
   300 บาท
ของรางวัล
3,500 บาท
   3,500 บาท
                         รวมทั้งหมด           212,470           บาท
                    
                    สองแสนหนึ่งหมื่นสองพันสี่ร้อยเจ็ดสิบบาท

งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมค่ายสร้าง

ลำดับที่
รายการ
จำนวนเงิน
1.
เหล็ก 4 หุ้น
260 เส้น×220 ม.       : 57,200   บาท
2.
เหล็ก 2 หุ้น
200 เส้น×80   ม.         :16,000    บาท
3.
ลวด
20 กก.×230 บาท           : 4,600    บาท
4.
ปูนซีเมนต์
400 กระสอบ×170 บาท   : 3,000     บาท
5.
ทรายหยาบ
5 รถหกล้อ× 1,200 บาท   : 6,000     บาท
6.
ทรายละเอียด
4 รถหกล้อ×2,200 บาท    : 8,800     บาท
7.
หิน
4 รถหกล้อ×3,300 บาท    : 13,200   บาท
8.
อิฐบล๊อค
2,000 ก้อน×7 บาท      : 14,000  บาท
9.
กระเบื้อง 4 ฟุต
300 อัน×45 บาท          : 13,000   บาท
10.
แสล็ต(มุมสำเร็จรูป)
35 แผ่น×450 บาท       : 15,750   บาท
11.
สีรองพื้น
5 ถัง = 800 บาท/1,500 บาท    : 4,000     บาท
12.
สีภายใน
8 ถัง = 1,800 บาท/2,800 บาท : 14,400   บาท
13.
สีภายนอก
7 ถัง = 1,800 บาท/2,800 บาท : 12,600  บาท
14.
สีขอบไม้วง
5 กระป๋อง×650 บาท      : 3,250    บาท
                           รวมทั้งหมด             251,30  บาท
สองแสนห้าหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาท


รวมงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมทั้งหมด    463,770 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.นักศึกษาสามารถจัดสร้างห้องสมุดโดยได้รับความร่วมมือกับชุมชน
                2. ชุมชนสามารถใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับยุวชนและชาวบ้านในพื้นที่
3.ชาวบ้านในพื้นที่เข้ารับการบริการทางสุขภาพ รวมถึงถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่และภูมิปัญญาให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้
4.นักศึกษาผู้ร่วมโครงการฯ และยุวชนในพื้นที่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม
วิธีการประเมินผลโครงการ
1.แบบสอบถาม
2.การสัมภาษณ์ (สุ่ม)

หมายเลขบัญชีสนับสนุนงบประมาณโครงการ
ชื่อบัญชี : น.ส. กาญตา   ลอมาเล๊ะ
หมายเลขบัญชี 084-4-03342-0
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา กระทุมแบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น